วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553


2 ตายายเท้าไฟ ชาวญี่ปุ่นตกเป็นข่าวฮือฮาในญี่ปุ่นเมื่อรายการ "NANIKORE"รายการซึ่งรวบรวมสิ่งที่น่าสนใจต่างๆได้นำเสนอเรื่องราวของตายายทั้งสองผู้มีใจรักในการเต้น แต่ไม่ได้เต้นแบบคุณตาคุณยาย ที่เต้นแบบทั่วๆไป แต่เป็นการเล่นเกมส์เต้นที่เป็นที่นิยมในญี่ปุ่น Dance Dance Revolution หรือ DDR ซึ่งจากการสัมภาษณ์คุณลุงท่านนี้อายุ 70 ปี และคุณยายอายุ 66 ปี มีใจรักในการเล่นเกมส์นี้มาก และปัจจุบันก็เล่นเกมส์นี้ที่บ้านเป็นประจำซะด้วย และสุขภาพของทั้งคู่ยังแข็งแรง ท่าทางจะมีแรงเต้นไปอีกนานเลยครับ

วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553


KEN BLOCK นักขับรถแรลลี่ชาวอเมริกัน วัย 43 ปี สังกัด Monster World Rally Team และยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งเสื้อผ้าแนวสปอร์ต DC Shoes.โดยคลิปที่เผยแพร่นี้ก็เป็นหนึ่งในการตลาดของ DC Shoes ในปี 2010 นี้นั่นเอง เวลา 7.42 นาทีในคลิปนี้อาจทำให้ท่านผู้ชมต้องหวาดเสียวและชื่นชมไปพร้อมกันกับความสามารถของเค้าคนนี้

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553



คอสเพลย์ (Cosplay หรือ Cos'Play) เป็นการผสมคำภาษาอังกฤษระหว่างคำว่า Costume ซึ่งแปลว่า เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และ Play ที่แปลว่า การเล่นดังนั้น Costume + Play จึงแปลตรงๆว่า การเล่นเสื้อผ้า แต่ที่นิยามให้ชัดเจนที่สุดคือ "การแต่งตัวเลียนแบบ"

เนื่องจากศัพท์คำว่า Cosplay นั้น เป็นศัพท์เฉพาะที่ไม่มีการบัญญัติในภาษาอังกฤษนั้น จึงทำให้มีการพูดถึงนิยามอยู่เสมอ ทั้งนี้ ก็มีอีกนิยามว่า Cosplay มาจาก Costume+Roleplay ซึ่งคำว่า Roleplay นี้แปลว่า สวมบทบาท ซึ่งก็จะทำให้นิยามความหมายได้ชัดกว่าคือ "การแต่งกายสวมบทบาท"



ปัจจุบันนิยามของคอสเพลย์ในปัจจุบันไม่ได้มีเพียงการแต่งกายเลียนแบบตัวละครการ์ตูนญี่ปุ่นเท่านั้น แต่กินความหมายรวมไปถึงตัวละครในการ์ตูน เกม และภาพยนตร์ ทั้งของญี่ปุ่นและของประเทศอื่น ๆ ด้วย และยังรวมไปถึงการแต่งกายเลียนแบบการแต่งกายของวงดนตรี J-Rock และ J-Pop ที่มีรูปแบบแตกต่างจากการแต่งกายแบบปกติอย่างชัดเจน ซึ่งอาจจะมีการรวมกลุ่มกันเพื่อร้องเพลงหรือการเต้น Cover ตามศิลปินที่ชื่นชอบนั้นอีกด้วย และการแต่งกายแบบย้อนยุค อย่างเช่นสมัย Gothic เป็นต้น



สำหรับในประเทศไทยนั้น จุดเริ่มต้นของกิจกรรมการแต่งคอสเพลย์ส่วนหนึ่งจะมาจากผู้ที่ชื่นชอบ J-Rock ในสมัยที่ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงปี 30 กลายๆ อีกส่วนหนึ่งคือผู้ที่ชื่นชอบการ์ตูนญี่ปุ่นและติดตามข้อมูลโดยตรงจากทางญี่ปุ่น ก็ได้มีการรวมกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อจัดงานขึ้นมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2541 หลังจากนั้นสำนักพิมพ์การ์ตูนญี่ปุ่นต่างๆ เองก็ได้เริ่มให้ความสนใจจัดกิจกรรมเพื่อตอบสนองความชื่นชอบในลักษณะของการประกวดคอสเพลย์ขึ้นมาบ้าง แต่จุดที่ทำให้คอสเพลย์เป็นที่รู้จักกันมากขึ้นในสังคมไทย เห็นจะเป็นกระแสของเกมออนไลน์ต่างๆ ที่เริ่มเข้ามาเมื่อช่วงปี พ.ศ. 2545 โดยคอสเพลย์เป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักๆ ที่ผู้นำเข้าเกมจะจัดขึ้นมาเพื่อสร้างความคึกคักให้กับงานแสดงเกมของบริษัท โดยเฉพาะเกมที่มีชื่อเสียงมากในขณะนั้นอย่าง Ragnarok Online ซึ่งสื่อต่างๆ ก็ได้นำเอาเรื่องของคอสเพลย์ไปเผยแพร่ จึงมีผลทำให้บุคคลทั่วไปได้รู้จักมากยิ่งขึ้น จากที่แต่เดิมนั้นจะเป็นรู้จักเฉพาะในวงแคบๆ เท่านั้น นับเป็นงานอดิเรกอย่างหนึ่ง