วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553


ระดับพายุเฮอร์ริเคนตามมาตรวัดของแซฟไฟร์-ซิมป์สัน
"Saffir-Simpson Hurricane Scale"

การจัดระดับเฮอร์ริเคนตาม ความรุนแรงของแรงลมที่ก่อให้เกิดพายุ ซึ่งพัฒนาขึ้นในปี 1969 โดยเฮอร์เบิร์ตแซฟไฟร์ วิศวกรโยธา และบ็อบ ซิมป์สัน ผู้อำนวยการศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติสหรัฐฯ โดยแบ่งเป็น 5ระดับด้วยกัน และระดับ 5 คือระดับสูงที่สุดทั้งนี้การจัดระดับดังกล่าวถูกใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมิน ความเสียหายและอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นจากพายุเฮอร์ริเคนเมื่อพัดขึ้นสู่ชาย ฝั่งโดยการจัดระดับนี้จะใช้กับเฮอร์ริเคนที่ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติก และทางตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกเท่านั้น


ระดับ 1 (Category 1)

- ความเร็วลม 74-95 ไมล์ต่อชั่วโมง(119-153 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
- ความสูงของคลื่น 1.2-1.5 เมตร
- ความกดอากาศ 980 มิลลิบาร์
- อานุภาพในการทำลายล้าง เล็กน้อย
ไม่ส่งผลต่อสิ่งก่อสร้าง มีน้ำท่วมบ้างตามชายฝั่ง ท่าเรือเสียหายเล็กน้อย
ตัวอย่างของเฮอร์ริเคนระดับนี้ได้แก่ Hurricane Isabel ซึ่งขึ้นฝั่ง ใกล้ ๆ เกาะ Drum Inlet
นอกชายฝั่งรัฐ N.Carolina ปี 2003 และ Hurricane Georges ขึ้นฝั่ง Florida Key และ Mississippi และHurricane Bonnie ปี 1988


ระดับ 2 (Category 2)

- ความเร็วลม 96-110 ไมล์ต่อชั่วโมง (154-177 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
- ความสูงของคลื่น 1.8-2.4 เมตร
- ความกดอากาศ 965-979 มิลลิบาร์
- อานุภาพในการทำลายล้าง น้อย
หลังคา ประตูหน้าต่างบ้านเรือนมีเสียหายบ้าง ก่อให้เกิดน้ำท่วมทำลายท่าเรือ
จนถึงอาจทำให้สมอเรือที่ไม่ได้ป้องกันไว้หลุดหรือขาดได้ ตัวอย่างของเฮอร์ริเคนระดับนี้ได้แก่ HurricaneIsabel ซึ่งขึ้นฝั่ง ใกล้ ๆ เกาะ Drum Inlet นอกชายฝั่งรัฐ N.Carolina ปี 2003 และ Hurricane Georgesขึ้นฝั่ง Florida Key และ Mississippi และ Hurricane Bonnie ปี 1988


ระดับ 3 (Category 3)

- ความเร็วลม 111-130 ไมล์ต่อชั่วโมง (178-209 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
- ความสูงของคลื่น 2.7-3.7 เมตร
- ความกดอากาศ 945-964 มิลลิบาร์
- อานุภาพในการทำลายล้าง ปานกลาง
ทำลายโครงสร้างที่อยู่อาศัยขนาดเล็กได้บ้าง โทรศัพท์บ้านถูกตัดขาด
แผงป้องกันพายุตามบ้านเรือนได้รับความเสียหาย อาจเกิดน้ำท่วมขังเข้ามาถึงพื้นดินส่วนใน เช่น HurricaneJeanne,Hurricane Ivan ขึ้นฝั่ง Florida ปี 2004 (ฟลอริด้าปี 2004 นี้โชคร้ายมาก ๆ
เพราะโดนเฮอร์ริเคนกระหน่ำหนัก ๆ ถึง 5 ลูกในเวลาที่ติด ๆ กัน) และมี Hurricane Roxanne ขึ้นฝั่งที่Florida และ Alabama ปี1995 และยังมี Hurricane Fran ขึ้นฝั่งที่ Yucatan Penninsula ของเม็กซิโกในปี1996 และที่ N.Carolina


ระดับ 4 (Category 4)

- ความเร็วลม 131-155 ไมล์ต่อชั่วโมง (210-249 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
- ความสูงของคลื่น 4.0-5.5 เมตร
- ความกดอากาศ 944-920 มิลลิบาร์
- อานุภาพในการทำลายล้าง สูง
แผงป้องกันพายุเสียหายหนักยิ่งขึ้น หลังคาบ้านเรือนบางแห่งถูกทำลาย น้ำท่วมเข้ามาถึงพื้นดินส่วนใน เช่นHurricane Charley ขึ้นฝั่งที่ฟลอริด้า วันที่ 13 สิงหาคม 2004 และ Hurricane Dennisซึ่งกระหน่ำเกาะคิวบา และ Hurricane Andrew ขึ้นฝั่งที่ฟลอริด้าวันที่ 24 สิงหาคม 1992
สร้างความเสียหายมากที่สุดซึ่งความเสียหายมีมูลค่าถึง 26.5 Billions Dollars


ระดับ 5 (Category 5)

- ความเร็วมากว่า 155 ไมล์ต่อชั่วโมงขึ้นไป( 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
- ความสูงของคลื่นไม่น้อยกว่า 5.5 เมตร
- ความกดอากาศ น้อยกว่า 920 มิลลิบาร์
- อานุภาพในการทำลายล้าง สูง
หลังคาบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมถูกทำลาย ตึกรามบางแห่งอาจถูกพัดถล่ม
เกิดน้ำท่วมขังปริมาณมากถึงขั้นทำลายข้าวของในชั้นล่างของบ้านเรือนใกล้ชายฝั่ง
และอาจต้องมีการประกาศให้ประชาชนในพื้นที่ทำการอพยพโดยด่วน เช่น The Labor Day Hurricane ขึ้นฝั่งที่ฟลอริด้าปี 1935 และ Hurricane Camille ขึ้นฝั่งที่มิสซิสซิปปี้ปี 1969

ภาพถ่ายจากดาวเทียม

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากพายุเขตร้อนเหล่านี้ ได้แก่

- ลมพัดแรง (Violent Winds)
- คลื่นพายุซัดฝั่ง (Storm Surges) เป็นอันตรายต่อเรือประมง
- คลื่นพายุซัดฝั่งและฝนที่ตกอย่างหนัก (Torrential Rain) อาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้
- การพังทลายของพื้นที่ลาดเอียง ซึ่งอาจเกิดจากการกัดเซาะของพื้นที่ชายฝั่งทะเล
ทำลายเส้นทางคมนาคม เสาไฟฟ้าล้ม อาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร และก่อให้เกิดเพลิงไหม้ตามมาได้
ทำให้น้ำใช้ในการอุปโภคบริโภคสกปรก


การเตรียมการและการป้องกัน

- ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
- สอบถามและแจ้งสภาวะอากาศผิดปกติ
- ติดตั้งสายล่อฟ้าสำหรับอาคารสูง
- ปลูกสร้าง/ซ่อมแซมอาคารให้แข็งแรง เพื่อป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
- ไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ขณะมีฝนฟ้าคะนอง
- ไม่ใส่เครื่องประดับโลหะ และอยู่กลางแจ้ง ขณะมีฝนฟ้าคะนอง
- เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ และวิทยุกระเป๋าหิ้วเพื่อติดตามข่าวสาร รวมทั้งมีการฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมความพร้อม และวางแผนการอพยพหากจำเป็น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น